วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มาหัดร้องเพลงต้อนรับ Christmas กันครับ



เพลง White Christmas ครับ เพลงนี้เป็นหนึ่งเพลงที่เพราะมากครับ ยิ่งได้เสียงของสาวไทเลอร์มาร้อง ผสมกับเสียกีตาร์ ยิ่งทำให้ครีสมาสต์นี้กลายเป็นวันที่มีความสุขเเละเเสนพิเศษครับ ผมเองก็ฝาก Happy Christmas Day ให้เพื่อนๆทุกคนเลยนะครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขมากๆเเละเรามาร่วมกันร้องเพลงนี้ไปด้วยกันครับผม 

ภาษาเพื่อการสื่อสาร Communicative Approach


ครูหลายๆท่านคงจะเข้าใจเรื่องนี้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ เนื่องจาก การเรียนรู้ในศตวรรตที่ 21 นั้นการเรียนการสอนแบบ Communicative Approach หรือเรียกง่ายๆว่าการเรียนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเป็นหัวใจหลักในการเรียนการสอนภาษาเลยก็ว่าได้ เนื่องจากว่า การจะจัดการเรียนการสอนให้ได้ประสิทธิภาพนั้นต้องมีการจัดระบบการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน 5 ขั้นด้วยกันดังต่อไปนี้
ขั้น ตอนการจัดกิจกรรม Teaching Process


1. Warm up คือการนำเข้าสู่บทเรียนนั้นเอง พูดง่ายๆคือเราต้องปูทางเพื่อจะนำเข้าสู่การเรียนการสอนในวันนั้น อาจจะอยู่ในรูปของการใช้ เพลง เกม กิจกรรม Activity ต่าง เพื่อดึงดูดความสนใจเเละเตรียมความพร้อมของนักเรียนให้พร้อมรับข้อมูลใหม่ในการเรียนการสอน


2. Presentation ครูนำเสนอสิ่งที่จะสอน สิ่งที่สำคัญคือการเสนอศัพท์ใหม่ให้นักเรียน โดยไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนเห็นศัพท์ แต่ครูใช้วิธีการให้นักเรียน เรียนรู้จากภาพและการรับรู้ เมื่อเกิดความเข้าใจครูจึงค่อยนำเสนอศัพท์อีกครั้ง เพราะถ้าเราเอาคำศัพท์ให้นักเรียนอ่านเลยในครั้งเเรกนักเรียนจะจะศัพท์แทนที่จะทำความเข้าใจ ประเด็นสำคัญคือเราต้องทบทวนศัพท์นั้นหลายๆรอบจนนักเรียนจได้เเละเข้าใจ


3. Practice เด็กฝึกปฏิบัติในการใช้ภาษา ในขั้นนี้คือการให้นักเรียนปฏิบัติตามการเรียนรู้ในคาบนั้นๆ โดยอาจจะใช้กิจกรรมการเเข่งขัน การเเบ่งกลุ่มเป็นตัวช่วย เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกใช้สิ่งที่ครูสอนใน
คาบนั้นๆ สิ่งสำคัญคือครูต้องคอบดูและตรวจสอบความถูกต้องของนักเรียนอย่าใกล้ชิดเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง


4. Production เด็กนำเสนอสิ่งที่ได้ฝึกปฏิบัติ เช่น การสนทนา บทบาทสมมติในสถานการณ์ต่างๆ เล่นละครภาษาอังกฤษ ในขั้นนี้ครูต้องให้นักเรียนออกมาเเสดงความสามารถและความเข้าใจในการเรียนในคาบนี้ เพื่อครูจะได้ทราบว่าการเรียนมีประสิทธิผลมากเเค่ไหนเเละครูจะได้ทราบถึงข้อด้อยของผู้เรียนด้วย ในขั้นนี้ตามที่บอกคืออาจจะสุ่มนักเรียนออกมาสนทนาตามที่ได้เรียนมาหรือแสดงบทบาทสมมุติ โดยในขั้นนี้ครูจะเป็นเพียงผู้สังเกตเท่านั้น


5. Wrap up คือขั้นของการสรุปและประเมินผลการเรียนรู้ นักเรียนต้องบอกได้ว่าวันนี้ครูสอนเรื่องอะไรเเละนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง คือเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนว่ามีความเข้าใจการเรียนการสอนในวันนี้มากน้อยเเค่ไหนนั้นเอง รวมถึงการสร้างไอเดียให้นักเรียนนำไปคิดต่อยอดในชีวิตจริง บางคนอาจจะให้การบ้านเพื่อทดสอบความเข้าใจ


กิจกรรม การสอนทางภาษาที่ใช้ในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร English Language Activities
1. เกมทางภาษา Language Games
2. เล่าเรื่องราวหรือนิทาน Stories or Tales
3. ทักษะภาษาเพื่อพัฒนาการคิด Language skills through Thinking skills
4. บทบาทสมมติ Role Play
5. ละครและเพลง Drama and Songs
6. ทัศนศึกษานอกสถานที่ Field Trip
7. การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติ Whole Language
8. การเรียนรู้ภาษาผ่านโครงงาน Project-based Learning


สื่อ การสอน Materials
1. ภาพต่อเรื่องราว Pictures Strip Stories
2. สื่อของจริง Authentic Materials
3. บัตรคำ Card
4. วีดีโอ วีซีดี/ซีดี เทปแคสเซ็ต VDO, VCD, CD, Tape Cassete
5. หนังสือ Books
6. อื่นๆ Others เช่น ครูผู้สอนชาวต่างชาติ Native Speaker


การวัดและประเมินผล Assessment
1. วัดจากการทดสอบ 30% (Test)
2. ประเมินจากสภาพจริง 70% โดยใช้เกณฑ์รูบริคส์สกอร (Authentic Assessment using Rubric Score Technique)

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากเอกสารการอบรมครูภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด สาระภาษาอังกฤษโรงเรียนลำปลายมาศ

ฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง

 

วิธีฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่อง



"ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษเก่ง”  หรือ "ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” หรือ ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่งเป็นคำพูดที่มักจะเจอบ่อยๆสำหรับคนที่อยากจะพูดภาษาอังกฤษได้ดี ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วมากมาย บางคนเรียนมาแล้วมากกว่า 10 ปี บางคนเรียนภาษาอังกฤษมากับสถาบันสอนภาษามาแล้วหลายสถาบัน แต่ก็ยังไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ซักที บางคนสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดี และเข้าใจได้ดี หรือบางคนทำคะแนนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้ดี  แต่ก็ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้เพราะอะไร ???สาเหตุที่สำคัญคือ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ   กล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน  และต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบจนขึ้นใจแล้วพูดตาม  ออกเสียงตามให้เหมือนที่สุด อาจไม่เข้าใจความหมาย หรือคำแปล ไม่เป็นไรการฟังภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุดและพัฒนายากที่สุด  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของคนไทยส่วนใหญ่ รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาทั้งหมดของการ เรียนภาษาอังกฤษของคนไทย

เราลองมาเปรียบเทียบดูว่า
 ภาษาไทยที่เราพูดอ่าน และเขียนได้ในปัจจุบันล่ะ  มีพื้นฐานมาจากอะไร ??หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา  แล้วเลียนเสียงนั้น (คือการพูดตาม) จนพูดได้ หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการอ่าน   แล้วจึงตามมาด้วยการเขียน

เช่นเดียวกัน
  หากเราได้ฟังภาษาอังกฤษ  หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ  นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย

ดังนั้น การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ  จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด   ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก
   การฟังมากๆ ซ้ำๆ  นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้   เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว   เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว

หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น   ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว

เราลองมาเปรียบเทียบดูว่า ภาษาไทยที่เราพูดอ่าน และเขียนได้ในปัจจุบันล่ะ  มีพื้นฐานมาจากอะไร ??หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา  แล้วเลียนเสียงนั้น (คือการพูดตาม) จนพูดได้ หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการอ่าน   แล้วจึงตามมาด้วยการเขียน

เช่นเดียวกัน

เช่นเดียวกัน  หากเราได้ฟังภาษาอังกฤษ  หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ  นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
ดังนั้น การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ  จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด   ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก   การฟังมากๆ ซ้ำๆ  นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้   เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว   เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว 
หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น   ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้วเราลองมาเปรียบเทียบดูว่า ภาษาไทยที่เราพูดอ่าน และเขียนได้ในปัจจุบันล่ะ  มีพื้นฐานมาจากอะไร ??หากไม่ใช่มาจากการฟัง ฟังจนเข้าใจในสิ่งที่เราได้รับฟังมา  แล้วเลียนเสียงนั้น (คือการพูดตาม) จนพูดได้ หลังจากนั้น จึงเริ่มเรียนการอ่าน   แล้วจึงตามมาด้วยการเขียน
เช่นเดียวกัน  หากเราได้ฟังภาษาอังกฤษ  หลายๆรอบ บ่อยๆ ซ้ำๆจนจำขึ้นใจแล้ว เราจะพบว่าเราสามารถฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่องและเข้าใจโดยอัตโนมัติ  นอกจากนั้นยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษได้อีกด้วยดังนั้น การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ  จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด   ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก   การฟังมากๆ ซ้ำๆ  นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว ยังทำให้สามารถพูดได้   เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว   เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น   ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว แล้วจึงมาฝึกหรือแก้ไขคำที่เรามักจะออกเสียงภาษาอังกฤษไม่ถูกต้องไม่ชัด  ให้พูดได้ชัดเจนขึ้น ตรงนี้อาจต้องอาศัยครูสอนภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษา เช่นชาวอังกฤษหรือชาวอเมริกัน ที่มีประสบการณ์มาช่วยสอน เพื่อให้เรียนได้เร็วและมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น
วิธีการฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ให้ได้ผลเร็ว มีเทคนิค ดังนี้1.   ฝึกฟังจากเทป บทสนทนาภาษาอังกฤษ ซึ่งบทสนทนานั้นจะต้องพูดด้วยความเร็วปกติที่ชาวต่างชาติพูด   อย่าฝึกฟังจากเทปที่พูดช้ากว่าการพูดปกติของเขา เนื่องจากจะทำให้เราเคยชินกับการฟังภาษาอังกฤษ แบบที่พูดช้าๆ และเมื่อเจอชาวต่างชาติที่พูดด้วยอัตราความเร็วปกติ เราก็ไม่เข้าใจเช่นเดิม2.     การฝึกฟังครั้งแรกๆ ควรเริ่มฟัง ครั้งละ  5 - 10 ประโยค (อย่าฟังประโยคเยอะเกินไปจนไม่สามารถจะจำประโยคเหล่านั้นได้)  3.     ขณะที่ฝึก ฟังภาษาอังกฤษ ต้องมี Script เสมอ4.    ในการฝึกฟังแต่ละครั้ง ต้องฟังให้ได้อย่างน้อย 4 รอบ คือ -  รอบที่ 1 ฟังพร้อม Script และหากเห็นว่าคำใดที่เราเคยออกเสียงไม่เหมือนเขา หรือ     เราฟังไม่รู้เรื่องแม้จะมี Script  ให้หยุดเทป แล้วจดลงในScript ว่า เสียงที่เราได้ยิน     นั้นคืออะไร-       รอบที่ 2 และ 3 ออกเสียงตาม -      รอบที่ 4, 5, 6, ..... ลองฟังแบบหลับตา โดยไม่มี Script5.      ช่วงแรก ขอให้ฝึกฟังประโยคเดิมๆ ด้วยวิธีข้างต้น สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง (ฝึกทุกวันได้ยิ่ง       ดี) แล้วจึงค่อยๆเพิ่มจำนวนประโยคให้มากขึ้นเป็น 15-20 ประโยค ต่อการฝึกฟังแต่ละ       ครั้งหากทำวิธีดังกล่าวข้างต้นอย่างสม่ำเสมอ เพียงเดือนเดียว รับรองว่านอกจากจะ ฟังภาษาอังกฤษ รู้เรื่องแล้ว ยังสามารถ พูดภาษาอังกฤษ ได้โดยไม่รู้ตัวอีกด้วย ดังนั้น การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษ  จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากที่สุด   ที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนเป็นอันดับแรก   การฟังมากๆ ซ้ำๆ  นอกจากจะทำให้ทักษะการฟังภาษาอังกฤษดีขึ้นแล้ว  ยังทำให้สามารถพูดได้   เมื่อเราพูดประโยคเหล่านั้นออกมาได้แล้ว   เราก็หลุดออกจากกับดักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้แล้ว นั่นแปลว่าเราได้เข้าสู่วงจรของการที่จะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติแล้ว  
หลังจากนั้นจึงค่อยมาศึกษาคำแปลของประโยคเหล่านั้น และเพิ่มประโยคเหล่านั้นให้มีสะสมในสมองมากขึ้น   ลำดับต่อไปจึงฝึกพูดประโยคภาษาอังกฤษเหล่านั้นให้เร็วขึ้น เราก็จะสามารถพูดภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติจากจิตใต้สำนึกโดยไม่ติดขัดอีกแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Tense and Tense

                     พวกเราเคยสงสัยกันไหมครับว่า Tense ในภาษาอังกฤษมีไว้ทำไม เเล้วทำไมเราถึงต้องเรียนเรื่องนี้ด้วย
หลายต่อหลายคนเกลียดภาษาอังกฤษเพราะเจอเจ้า Tense นี้ละครับ ผมเองก็ไม่ชอบ เเต่ผมไม่เคยท่องหรือจำนะครับ ให้นึกถึงการทำกับข้าว เราจะทำอาหารขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง เราต้องท่องตลอดไหมครับว่าต้องมีอะไรบ้างเป็นส่วนประกอบ ถ้าจะทำลาบหมูแต่มะนาวไม่มีใช้มะกรูดแทนจะยังเป็นลาบหมูอยู่ไหม หรือทำส้มตำแต่ไม่ใส่ปลาร้าจะยังอร่อยอยู่ไหม คำตอบคือมันก็ยังเป็นอาหารชนิดนั้นเหมือนเดิมครับ ตราบใดที่ส่วนประกอบหลักยังเหมือนเดิม ภาษาอังกฤษก็เหมือนกันครับ Tense ก็เหมือนกับเครื่องปรุงรสที่ทำให้อาหารรสชาติสมบูรณ์ขั้นนั้นละครับ ฝรั่งเขาไม่ต้องมานั่งท่องนะครับว่าจะพูดอะไรเเล้วต้องใช้Tense ตัวไหน ฉะนั้น เลิกท่องเเล้วหันมาทำความเข้าใจกับมันครับเมื่อเราเข้าใจเเล้วเราก็จะใช้ได้ไปเอง มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ 


       

                                               Tense



ภาษาอังกฤษนั้นมีรูปแบบประโยคที่เรียกว่า Tense เอาไว้แสดงเวลาในกรณีต่างๆ กัน โดยจะทำให้ส่วนของ Verb นั้นเปลี่ยนรูปแบบไป (ซึ่ง verb ที่เปลี่ยนไปตาม Tense คือ Verb แท้ของประโยค) แบ่งเป็น 3 ประเภทเวลาใหญ่ๆ คือ
ปัจจุบัน Present = V1, อดีต Past = V2, อนาคต Future = Will + V
แต่ละเวลาจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบย่อย คือ

Simple = V (รูปแบบอย่างง่าย) ที่เราพูดโดยปกติทั่วๆไป

Continuous = be + Ving (กำลังทำ)  กำลังเกิดขึ้นกำลังทำอยู่

Perfect = Have + V3 (เกิดก่อนอีกอัน เวลาไม่สำคัญ)  


1.Present Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน


- Present Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เป็นจริงเสมอ = รูปแบบ คือ S + V1 (ผันตามประธาน) เช่น He watches TV everyday.
- Present Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน = รูปแบบ คือ S + is/am/are + Ving [be ผสมกับ V1 ได้ is/am/are] เช่น I am doing my homework.
- Present Perfect = ใช้บอกว่าได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยไม่ต้องระบเวลาที่แน่นอน(รู้แค่ทำไปแล้ว เวลาไม่สำคัญ) = รูปแบบ คือ S + has/have +V3 [เนื่องจาก V1 ผสม have ได้ has/have ] เช่น I have already seen that movie.

2.Past Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอดีต


- Past Simple = ใช้บอกเหตุการณในอดีต ที่เกิดแล้วจบในอดีต มักระบุเวลาที่เจาะจงในอดีต = รูปแบบ คือ S + V2 เช่น I walked to school yesterday.
- Past Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต (มักใช้คู่กับ Past Simple) = รูปแบบ คือ S +was/were + Ving [be ผสม V2 ได้ was/were] เช่น He was sleeping when I arrived.
- Past Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอดีตอีกอันหนึ่ง (จึงมักใช้คู่กับ Past Simple Tense) = รูปแบบ คือ S + had +V3 [เนื่องจาก V2 ผสม Have ได้ Had ] เช่น I had already eaten when they arrived.

3.Future Tenseใช้สำหรับบอกเหตุการณ์ในอนาคต


- Future Simple = ใช้บอกเหตุการณ์ในอนาคต = รูปแบบ คือ S + will + V1 เช่น It will snow tomorrow.
- Future Continuous = ใช้บอกเหตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคต = รูปแบบ คือ S +will + be + Ving เช่น He will be sleeping when we arrive.
- Future Perfect = ได้ทำเหตุการณ์ไปแล้วก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์ในอนาคต = รูปแบบ คือ S + will + have +V3 เช่น I will have already eaten when you arrive.


 ไม่พูดถึง Perfect Cont. นะครับ เอาจริงๆนะครับมันมีน้อยมากที่จะเกิดเหตุการณ์ แบบ Perfect cont.
* S = Subject ประธาน หรือ ผู้กระทำ, V =Verb คือ กิริยา หรือคำแสดงการกระทำต่างๆ
**จริงๆ มีรูป Perfect Continuous ด้วย แต่คิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้

ต้นกำเนิดภาษาอังกฤษ

ความเป็นมาขอภาษาอังกฤษ




       ภาษาอังกฤษ (อังกฤษ: English language) เป็นภาษาตระกูลเจอร์เมนิกตะวันตก มีต้นตระกูลมาจากอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแรกมากที่สุดเป็นอันดับ 3 (พ.ศ. 2545: 402 ล้านคน) ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลาง (lingua franca) เนื่องจากอิทธิพลทางทหาร เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพราะว่าภาษาอังกฤษนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อผู้คนในหลากหลายอาชีพ ซึ่งบางอาชีพต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาอังกฤษมาช่วยประสานงาน ทำให้งานทุกอย่างนั้นง่ายราบรื่นและสำเร็จลงไปได้ด้วยดี
คำว่า อังกฤษ ในภาษาไทย มีที่มาจากคำอ่านของคำว่า Inggeris ในภาษามลายูที่ยืมมาจาก anglais (English) (/ɑ̃glɛ ) ในภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอังกลิช/แองกลิช (Angles) เป็นภาษาโบราณซึ่งใช้กันในชนชาติแองโกลที่อพยพสู่เกาะบริเตน และเป็นหนึ่งในภาษาแบบฉบับของภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้น หากพูดถึงภาษาแองกลิชแล้ว ก็ต้องระวังเสียงพ้องกับคำว่า ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมาจากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในประเทศต่างๆ ต่อไปนี้ ออสเตรเลีย บาฮามาส บาร์บาดอส เบอร์มิวดา ยิบรอลตาร์ กายอานา จาไมกา นิวซีแลนด์ แอนติกาและบาร์บูดา เซนต์คิตส์และเนวิส ตรินิแดดและโตเบโก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอื่นๆ ใน เบลีซ (ร่วมกับภาษาสเปน) แคนาดา (ร่วมกับภาษาฝรั่งเศส)โดมินิกา เซนต์ลูเซียและเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (ร่วมกับภาษาครีโอลฝรั่งเศส) ไอร์แลนด์ (ร่วมกับภาษาไอริช) สิงคโปร์(ร่วมกับ ภาษามาเลย์ ภาษาจีนกลาง ภาษาทมิฬ และภาษาเอเชียอื่นๆ) และแอฟริกาใต้ (ซึ่ง ภาษาซูลู ภาษาโคซา ภาษาแอฟริคานส์ และ ภาษาโซโทเหนือ มีคนพูดมากกว่า) และเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการที่ใช้กันมากที่สุดในอิสราเอล
      ในทวีปเอเชีย ประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของบริติชเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการโดยมีการเรียนการสอนในโรงเรียน ในฮ่องกงภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาจีนใช้ในการติดต่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามในฮ่องกงมีคนจำนวนมากไม่รู้ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษใช้อักษรละตินเป็นอักษรหลักในการเขียน และการสะกดคำหลายคำจะไม่ตรงกับการอ่านออกเสียง ซึ่งทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่งในการเรียน

ภาษาอังกฤษกับคนไทย

ว่าด้วยเรื่องภาษาในสังคม



             เคยสงสัยไหมครับว่าเราเรียนภาษาอังกฤษไปเพื่ออะไร และทำไมเราถึงต้องเรียนภาษาอังกฤษกันตั้งเเต่เด็กด้วย ถ้าจะตอบอย่างนักวิชาการศึกษาก็คงเรียนเพื่อจะได้เป็นประเทศที่พัฒนาทัดเทียมต่างชาติ และเพื่อติดต่อสื่อสารกับสังคมโลกได้ เพราะภาษาอังกฤษได้ถือว่าเป็นภาษากลางของโลก คือเป็นภาษาสากลที่คนทั่วไปนิยมนำมาใช้เป็นภาษาสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ถ้าเราจะมองย้อนประวัติศาสตร์ ประเทศไทยเราก็มีการติดต่อสื่อสารกับต่างชาติมาเเต่สัมยโบราณนะครับ น่าสนใจที่คนสัยก่อนนั้นสื่อสารกับชาวต่างชาติอย่างไร ทั้งที่การเรียนภาษาสัมยก่อนคงยังไม่มีครูมาคอยสอนแบบปัจจุบันนี้เเน่ๆ หรือประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะมีการแปล การเรียนภาษาระหว่างกันนั้น เขาเรียนรู้จักภาษากันอย่างไร คำตอบสำหรับผมคือ ภาษาเป็นมากกว่าภาษา เเต่ภาษาเป็นเหมือนศิลปะอย่างหนึ่งครับที่เราต้องเรียนรู้เองจึงจะเข้าใจ ตอนเราเป็นเด็ก เราเรียนรู้จากการฟังพ่อเเม่พูดจนต่อมาเราก็พูดตามพ่อเเม่ สรุปคือเรียนจากการฟังเเละการพูดตาม และเราเข้าใจความหมายของภาษานั้นด้วยสภาพที่เห็นนั่นเอง ที่จริงเเล้วภาษาไม่มีอะไรถูกผิดนะครับ แต่มันขึ้นอยู่ที่ว่าเรามีข้อตกลงของการสื่อสารกันอย่างไร 

            ภาษามนุษย์หรือเรียกว่าภาษาธรรมชาติ และอยู่ในเนื้อหาของวิชาภาษาศาสตร์ ภาษามนุษย์โดยทั่วไปเชื่อว่ามีพัฒนาการเริ่มแรกสำหรับใช้ในการพูด หลังจากนั้นจึงถูกนำมาใช้ในการเขียน และได้มีการทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจหลักไวยากรณ์
ที่ถามว่าทำไมคนเราไม่พูดภาษาเดียวกันทั้งโลก น่าจะเนื่องมาจาก การติดต่อสื่อสารสมัยก่อน เรียกได้ว่า แทบจะตัดขาดออกจากกันระหว่างทวีป ระหว่างประเทศ ระหว่างกลุ่มชน การพัฒนาภาษาเพื่อติดต่อสื่อสารกันเอง จึงกำเนิดขึ้นมาซึ่งก็น่าจะแตกต่างกันไป หากพื้นที่กลุ่มชนใดอยู่ใกล้กัน ก็อาจจะมีการยืมภาษาของกลุ่มชนใกล้เคียงมาใช้ และวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น หากพื้นที่อยู่ใกล้กัน ก็เป็นไปได้ที่จะมีความคล้ายคลึงของภาษา
ภาษาต่าง ๆ มีการดำรงชีวิต เดินทางจากสถานที่หนึ่งไปอีกสถานที่หนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา และตายไป ภาษาใด ๆ ที่หยุดการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงจะถูกจัดให้เป็นภาษาตาย ส่วนภาษาที่ยังคงมีสภาวะไม่หยุดนิ่งหรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องก็ จัดเป็นภาษาที่ยังมีชีวิต ฉนั้น ถึงเเม้เราจะเรียนภาษาอังกฤากัน ก็อย่าลืมภาษาไทยกันนะครับ อนุรักษ์ภาษาไทยเอาไว้ อย่าให้กลายเป็นภาษาที่ตายเเล้ว

สวัสดีครับเพื่อนทๆุกคน กลับมาเเล้วนะครับ ผมจะทำบลอคเพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาอังกฤษต่อไปแล้วครับ









วันนี้ก่อนอื่นต้องขอแนะนำตัวก่อนนะครับ ผมเป็นหนึ่งในคนที่ชอบเเละศึกษาเรื่องภาษาอังกฤษมากครับจีงอยากให้เพื่อนๆเข้ามาเเลกเปลี่ยนความรู้ด้านภาษาอังกฤาทั้งเรื่องของสื่อและการสอนนะครับโดยผมจะเน้นการเสนอข้อมูลความรู้ภาษาอังกฤษและ การแจกสื่อที่จำเป็นในการเรียนการสอนนะครับ
หวังว่า Blog นี้จะพอเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆที่สนใจความรู้ด้านภาษาอังกฤษบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ
อ้อ เรียกผมว่าเอื้อนะครับ